ติดต่อ-สอบถาม 082-478-9162

HIV อาการ / อาการ hiv

HIV อาการ

HIV อาการ ที่เกิดขึ้น กับโรคเอชไอวี หรือตัวย่อ คือ HIV มาจากภาษาอังกฤษคำว่า Human Immunodeficiency Virus ซึ่งความหมายแต่คำหมายถึง

Human หมายความว่า มนุษย์ ในที่นี้ก็คือ ผู้ที่ติดเชื้อ
Immunodeficiency หมายความว่า ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์)
Virus หมายความว่า ไวรัส อย่างเช่น เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรค และเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ
เมื่อรวมกัน ก็จะหมายถึง “ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในมนุษย์” นั่นเอง ซึ่งสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ว่า โรคนี้หากเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในระยะแรกอาจทำให้รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว อ่อนเพลีย และอาจมีบางอย่างเกิดขึ้น ให้เราเริ่มสังเกตตัวเอง

แต่บางรายก็ไม่แสดงอาการ อาจมีอาการเพียงไม่สบายเท่านั้น ซึ่งทำให้หลายคนไม่ทันระวังตัว หรือรู้ทันโรค ทำให้ติดเชื้อจนถึงระยะสุดท้าย ที่ภูมิคุ้มกันต่ำมากแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อภูมิคุ้มกันต่ำมาก ๆ เรามาดูไปพร้อมกัน กับ 3 ระยะของโรคเอชไอวี

3 ระยะของโรคเอชไอวี
ขอออกตัวก่อนเลยว่า เอชไอวี (HIV) กับ เอดส์ (AIDs) ไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนยังไง ไปอ่านกันเลย

ระยะไม่แสดงอาการ หรือ ระยะเริ่มแรก หรือ ระยะเฉียบพลัน
ในระยะนี้ บางบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรง อาจจะไม่แสดงอาการ และบางบุคคลก็อาจจะแสดงอาการ เช่น บางคนอาจจะรู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลียเล็กน้อย แต่บางคนก็อาจจะมีอาการอื่นๆ ที่มากกว่านี้เกิดขึ้น เช่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ น้ำหนักลดลงเล็กน้อย ท้องร่วง ท้องเสีย ต่อมน้ำเหลืองโต คล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณ 2-4 สัปดาห์ หลังได้รับความเสี่ยง หลังจากนั้นอาการก็จะหายไปเอง ที่เรามีอาการเหล่านี้ เนื่องจากร่างกายกำลังตอบสนองกับเชื้อไวรัสเอชไอวี โดยร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมากำจัดเชื้อ ที่เราเรียกกันว่า แอนติบอดี (Antibody) ซึ่งจะเริ่มมีในสัปดาห์ที่ 3 หลังมีความเสี่ยง ด้วยการที่ระยะนี้ไม่แสดงอาการผู้ติดเชื้อบางรายไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ และยังคงไม่ป้องกันเวลามีเพศสัมพันธ์ ทำให้แพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่นๆ ได้ โดยไม่ทันระวัง

ระยะมีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ ระยะสงบ
ในระยะนี้เชื้อเอชไอวียังคงมีอยู่ในร่างกายและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่พัฒนาแบบช้าลง ค่อยทำลายระบบภูมิคุ้มกันไปเรื่อยๆ ในปริมาณต่ำ อาการที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น มีเชื้อราในปากบริเวณกระพุ้งแก้ม และเพดานปาก ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น ที่คอ รักแร้ ขาหนีบ อาจมีอาการงูสวัดเกิดขึ้น แผลเริม มีความลุกลามเรื้อรังนานกว่า 1 เดือน ระยะนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นระยะติดเชื้อเรื้อรัง (chronic HIV infection) ซึ่งจะอยู่กับเราไปประมาณ 7-10 ปี ซึ่งอาจจะน้อยกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละบุคคล

ระยะสุดท้าย คือ ระยะเอดส์ (AIDs)
มาถึงตรงนี้ หลาย ๆ คน อาจจะเริ่มร้อง อ้าว กันแล้วว่า ที่ผ่านมาไม่ใช่โรคเอดส์หรอ
ถูกต้องค่ะ เพราะว่าแท้จริงแล้ว ที่เรามักจะเรียกกันว่า เอดส์ ติดเอดส์ โรคเอดส์ ความหมายของมันจริงๆ คือ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี และเชื้อได้ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจนปริมาณเม็ดเลือดขาวต่ำมาก และบางรายก็จะมีการติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นๆ ถึงขั้นอันตรายแล้ว สุดท้ายก็จะเสียชีวิต ในภาวะนี้ร่างกายเราจะอ่อนแอมาก ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อโรค แม้แต่เล็กๆ น้อยๆ ได้ เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเสียชีวิตด้วยโรคแทรกซ้อน เช่น วัณโรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เชื้อราขึ้นสมอง เป็นต้น HIV อาการ

เอชไอวี ไม่เท่ากับ เอดส์
ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีบางรายไม่จำเป็นต้องกลายเป็นผู้ป่วยเอดส์หมดทุกคน หากรับรู้ว่าตนเองติดเชื้อ และเข้าสู่ระบบการรักษา ในทางการแพทย์จะไม่เรียกว่ารักษา เพราะปัจจุบันยังไม่สามารถที่จะรักษา เอชไอวีให้หายขาดได้ การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในปัจจุบัน คือ การทานยาต้านไวรัสเอชไอวี หรือการเข้าร่วมโครงการพัฒนาการรักษาผู้ป่วยเอชไอวีในแต่ละหน่วยงาน ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยมีปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือด ในร่างกายต่ำลง จนถึงขั้นที่ตรวจไม่พบ (ไม่ได้หมายความเชื้อไวรัสหมด แต่แสดงให้เห็นว่าเชื้อนั้นเหลือในปริมาณน้อยเกินกว่าที่จะตรวจพบได้) ผู้ป่วยที่อยู่ในการดูแลของแพทย์ หรือบางโครงการ ก็จะมีการดูแลต่อที่แตกต่างกัน แต่ที่สำคัญ คือ ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้แบบปกติ ร่วมกับผู้อื่นได้ และมีอายุขัยที่ยืนเหมือนผู้ที่ไม่ได้ป่วย

สุดท้ายแล้ว หนทางที่ดีที่สุดที่จะสามารถทำได้ เพื่อปกป้องตนเอง และผู้อื่น คือ ป้องกันทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ และที่สำคัญลองตรวจเอชไอวีดูสักครั้ง ทั้งผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือได้รับความเสี่ยงมา หรือเพียงแค่มีความกังวลว่าตนเองจะได้รับเชื้อ ก็ขอแนะนำว่า ตรวจเถอะค่ะ เพราะหากเราตรวจเร็ว รู้ผลตั้งแต่เนิ่นๆ เราจะสามารถจัดการและควบคุมโรคได้เร็ว

ซึ่งการตรวจในปัจจุบันก็มีทางเลือกทั้ง โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน คลินิกนิรนาม คลินิกเอกชน บางจังหวัดสถานีอนามัย ก็สามารถตรวจได้ อีกทางเลือกน้องใหม่ คือ ชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง โดยเลือกที่ผ่านมาตรฐานมีเลข อย. ไทย

สำหรับผู้ที่ตรวจครั้งแรกไม่พบเชื้อเอชไอวี ทางปฏิบัติทางการแพทย์จะแนะนำให้ตรวจซ้ำอีกที่ 3 เดือน ไม่ว่าจะตรวจแบบไหน ก็จะแนะนำให้ตรวจติดตามผลอีกเช่นกัน อย่าลืมดูแลสุขภาพ ดูแลระมัดระวังในการมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง เพื่อตัวคุณเอง เพื่อคนที่คุณรัก เพื่อคนรอบข้างของคุณ

 

หากอยากมั่นใจในทุกครั้งที่ตรวจ โปรดซื้อชุดตรวจเอชไอวีกับร้านที่น่าเชื่อถือและมีมาตรฐานรับรอง

สนใจสอบถาม-สั่งซื้อสินค้า Click เพื่อ Add LINE สอบถามได้เลยค่ะ

 

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook