ติดต่อ-สอบถาม 082-478-9162

อยาก ตรวจเลือด หาเชื้อเอชไอวี แต่ไม่กล้าทำไงดี

อยาก ตรวจเลือด
อยาก ตรวจเลือด หาเชื้อเอชไอวี แต่ไม่กล้าทำไงดี การเก็บตัวอย่างเลือดบางส่วน จากร่างกายนั้น สามารถใช้ตรวจวิเคราะห์ วินิจฉัยได้หลายโรค เช่น ตรวจหาโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ โรคลิ่มเลือด เชื้อไวรัสตับอักเสบ โรคเอชไอวี โรคซิฟิลิส เป็นต้น การตรวจโรคด้วยเลือด มันก็เป็นเรื่องที่ดีใช่ไหมล่ะคะ ยกเว้นโรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งคงจะเป็นเรื่องที่กล้า ๆ กลัว ๆ สำหรับใครหลายคน เพราะว่ากลัวคนรอบข้างจะรู้ จะได้ยินว่าเรามาตรวจอะไร โดยเฉพาะโรคติดเชื้อเอชไอวี งั้นวันนี้เรามาเตรียมความพร้อม ขั้นตอนการไปตรวจเอชไอวีกันดีกว่า

เอชไอวีเป็นโรคติดต่อ และโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่มียาหรือวัคซีนใดๆ ที่สามารถรักษาให้หายได้ การแพร่เชื้อ ก็สามารถแบ่งออกเป็น 3 ทางหลักๆ คือ
1. การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทางทวารหนัก หรือแม้กระทั่งการทำออรัลเซ็กส์
2. การติดเชื้อจากผู้เป็นแม่สู่ทารกในครรภ์
3. ผ่านทางการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ไม่ว่าในกรณีใดๆ เช่น การฉีดยา การสักผิวหนัง
ทั้งนี้ วิธีการตรวจเอชไอวี ก็จะมีหลายแบบให้เราเลือก หรือขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ หลังจากสอบถามประวัติความเสี่ยงเรา โดยตรวจเอดส์ ก็จะมีราคาที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสถานที่ตรวจ และวิธีตรวจ

อยาก ตรวจเลือด หาเชื้อเอชไอวี มีขั้นตอนอะไรบ้าง
อาจจะมีหลายๆ คน ไม่ทราบว่าประชาชนไทย สามารถตรวจเอชไอวี ได้ที่สถานพยาบาลของรัฐ ฟรีปีละ 2 ครั้ง เพียงมีบัตรประชาชน ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี สามารถตรวจได้โดย ไม่ต้องขออนุญาตผู้ปกครอง ปัจจุบันการตรวจเอชไอวีที่โรงพยาบาล ที่ไวที่สุด คือ การตรวจ NAT ซึ่งสามารถตรวจได้ หลังจากเสี่ยงมาประมาณ 1 สัปดาห์ แต่วิธีที่นิยม คือ การตรวจหาภูมิคุ้มกัน ของร่างกายที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัส ซึ่งจะตรวจได้ หลังจากได้รับความเสี่ยงมา ประมาณ 3-4 สัปดาห์

– อันดับแรก ก่อนการไปตรวจ คือ เตรียมตัวให้พร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ต้องงดน้ำ ไม่ต้องงดอาหาร เตรียมบัตรประชาชนให้พร้อม

– ถือบัตรประชาชนหนึ่งใบ เดินเข้าไปในสถานพยาบาลและแจ้งจุดประสงค์ว่าต้องการมาตรวจหาเชื้อเอชไอวี

– หลังจากติดต่อเรียบร้อยแล้ว ก่อนการตรวจ ผู้มาตรวจจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับแนวทางการตรวจ การรักษาหากผลเลือดเป็นบวกและประเมินระดับความเสี่ยงที่ได้รับมา ทั้งนี้ให้พูดไปตามตรงว่าเราเสี่ยงมาอย่างไร โดยขอแนะนำให้พูดความจริงทั้งหมด เพราะจะเป็นผลดีกับตัวท่านเองมากกว่า เพื่อประโยชน์ในการเลือกวิธีตรวจ หลังจากนั้นจะได้รับเอกสารแผ่นหนึ่งมาให้ท่านเซ็นชื่อซึ่งเป็นเอกสารยืนยันว่ายินยอมให้ตรวจ ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที

– หลังจากรับคำปรึกษาและเซ็นชื่อเรียบร้อย คราวนี้ก็มาถึงขั้นตอนการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อเอชไอวี หลังจากเก็บตัวอย่างเลือดแล้ว แพทย์ก็จะนัดฟังผล อาจจะสามารถรู้ผลภายในวันนั้นเลย หรือนัดมาฟังผลวันอื่น ขึ้นอยู่กับนโยบายการบริการของสถานพยาบาลนั้นๆ และความสะดวกมาฟังผลของผู้มาตรวจ (แนะนำให้สอบถามข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับบริการ)

– ฟังผล
ผลเลือดเป็นลบ หรือ non-reactive ไม่พบเชื้อ แพทย์จะพิจารณาว่าอยู่ในระยะฟักตัวหรือไม่ และแนะนำให้มาตรวจซ้ำอีก
ผลเลือดเป็นบวก หรือ reactive เจ้าหน้าที่จะเข้ามาอธิบาย ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางในการเข้ารักษาและดูแลตัวเอง ซึ่งสามารถใช้สิทธิการรักษาและรับยาได้ฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐและเอกชนตามสิทธิ (ประกันสังคมหรือหลักประกันสุขภาพ)

ปัจจุบันการตรวจเอชไอวีไม่ได้ถูกจำกัดแค่ในโรงพยาบาล เพราะได้มีการปลดล็อคชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ซึ่งเป็นชุดตรวจกรอง สำหรับผู้ที่ได้รับความเสี่ยงมาและอยากตรวจด้วยตนเองก่อน

หากพบว่าผลเป็นลบ คือ ไม่ติดเชื้อ ในทางปฏิบัติก็แนะนำให้ตรวจอีกในระยะเวลาต่างๆ กัน อย่างเช่น ตรวจที่ทุกๆ 30 วัน เป็นเวลา 3 เดือน หรือ ตรวจอีกครั้งหนึ่งหลังจากเสี่ยงมาเกิน 3 เดือน

หากพบว่าผลเป็นบวก คือ มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวี ผู้ตรวจควรเดินทางไปตรวจยืนยันที่โรงพยาบาลทันที

ขั้นตอนการใช้ชุดตรวจคัดกรองเอชไอวีก็สามารถตรวจได้ง่ายๆ โดยตรวจจากเลือดที่เจาะปลายนิ้วไม่กี่หยด นึกถึงการตรวจน้ำตาลในเลือด และการตรวจแบบนี้จะใช้เวลาไม่นานเพียง 15-20 นาที

ทั้งนี้ให้เลือกใช้ชุดตรวจที่น่าเชื่อถือแม่นยำ และผ่านมาตรฐานจาก อย.ไทย ผู้ตรวจควรพิจารณาให้ดีก่อนการซื้อ

อย่ากลัวที่จะตรวจเอชไอวี อยากตรวจเลือด หาเชื้อเอชไอวี ก็ไปตรวจเลย เพราะว่าการที่เราไปตรวจและทราบผลเลือดของตนเองนั้น เป็นประโยชน์มากกว่าแน่นอน หากผลบวก ก็รักษาทานยาต้านได้ทันเวลา หากผลลบ ท่านก็จะได้ระมัดระวังตนเองเสมอ เมื่อจะมีเพศสัมพันธ์ต่อไป

 

หากอยากมั่นใจในทุกครั้งที่ตรวจ โปรดซื้อชุดตรวจเอชไอวีกับร้านที่น่าเชื่อถือและมีมาตรฐานรับรอง

สนใจสอบถาม-สั่งซื้อสินค้า Click เพื่อ Add LINE สอบถามได้เลยค่ะ

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook